ปัญหาของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ควรจะผลักไสไล่ส่งอีกต่อไป

บังเอิญที่ชีวิตที่ถูกลิขิตให้มาอยู่ใน  อนาบริเวณของเรา เมื่อเราได้รับรู้แล้ว ก็ต้องคิดแบ่งปันน้ำใจและหาทางคิดช่วยชีวิตเขาหน่อย

    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแม่แบบของสังคมเมืองที่คำนึงถึงการให้การศึกษาแก่เยาวชนควบคู่กับการช่วยประคับประคองสิ่งแวดล้อมที่เป็นชีวิตใกล้ตัวในอณาจักรของมหาวิทยาลัยจะมีคนเมตตาดูแลสัตว์เช่น เต่า กระรอก นก งู

jura1 ju2 jula3

jula4 jula5 jula12

jula7 jula8

jula10 jula13 jula14



 

      ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือสุนัขเร่ร่อนที่เป็นงานที่ระดับผู้บริหารใส่ใจดูแลเพราะถ้าไม่ได้ควบคุมให้เข้มสัตว์อาจทำร้ายสังคมได้แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ความเมตตาเป็นที่ตั้งของ   การจัดระเบียบสังคมสัตว์โดยได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานมาประสานช่วยกันคิดช่วยกันทำงาน  โดยยึดหลักของคำว่า ความรู้คู่คุณธรรม เช่นประสานกลุ่มที่ช่วยเลี้ยงดูสัตว์ให้อาหารจะมีทั้งอาจารย์ นักศึกษา บุคลากรที่ทำงานหลายแผนกที่ช่วยกันให้ข้อมูล ซึ่งชีวิตเร่ร่อนเหล่านี้บังเอิญเข้ามาอาศัยเมื่อไหร่หรือใครนำมาแอบปล่อยก็ไม่มีใครทราบ  โดยเฉพาะสุนัขเร่ร่อนจะมีประมาณ 180 ตัว

   

julad1 julaD2 julaD3 

w1 W2 W3 

w4 w5 w6

w7 w8 w9

     ทางมหาวิทยาลัยก็คำนึงถึงอันตรายจากสัตว์ถ้าไม่มีการควบคุมดูแลก็อาจเป็นภัยแก่มนุษย์  แต่วิธีการปฏิบัติทางมหาวิทยาลัยก็ได้เน้นย้ำถึงความเมตตาโดยไม่ผลักไสให้ชีวิตเหล่านี้ไปอยู่ที่อื่น   ให้ทำหมันทุกตัว  และฉีดวัคซีนป้องกันโรค  วัคซีนพิษสุนัขบ้า ให้สุขภาพดีไม่มีโรคภัยและถ้ามีผู้ต้องการรับอุปการะก็แจ้งความจำนงขอไปเลี้ยงได้ด้วยเพื่อเป็นการลดจำนวนหรือถ้าเกิดสุนัขดุร้ายกัดคน  ก็จะนำออกนอกพื้นที่ไปอยู่ที่อื่นในทันที